ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Bastard cedar, Bead tree - Bead Tree, Bastard Cedar, China Tree, Chinaball Tree, Persian Lilac [1]
- Bastard cedar, Bead tree - Bead Tree, Bastard Cedar, China Tree, Chinaball Tree, Persian Lilac [1]
Melia azedarach L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Meliaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Melia azedarach L.
 
  ชื่อไทย เลี่ยน
 
  ชื่อท้องถิ่น - ลำเลี่ยน(ลั้วะ), เลี่ยน(คนเมือง) - เฮี่ยน, เคี่ยน, เกรียน (ภาคเหนือ), โขวหนาย (แต้จิ๋ว), ขู่เลี่ยน (จีนกลาง) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงถึง 40 ม. ผลัดใบ เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศเมื่อแก่แตกเป็นร่อง หรือเป็นสะเก็ด กิ่งที่มีใบเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 6-8 มม. มีขนรูปดาวสีเหลืองอมน้ำตาล
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ 2-3 ชั้น เรียงสลับยาว 15-80 ซม. แตกแกนกลางไปทางด้านข้างอีก 3-7 คู่ แต่ละแกนมีใบย่อย 3-7 คู่ ตรงเกือบโคนของแต่ละแกนบางครั้งแตกแกนกลางย่อยสั้นๆ มีใบย่อย 2-3 คู่ มีขนนุ่มสั้นประปราย แต่ส่วนมากจะค่อนข้างเกลี้ยง ก้าบใบยาว 8-30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 6 มม. ก้านเป็นรูปทรงกระบอก มีช่องอากาศ โคนบวม แกนกลางที่แตกออกด้านข้างยาวถึง 25 ซม. เป็นข้อต่อกับแกนกลางใหญ่และไม่บวมพองมาก ใบย่อยรูปไข่ รูปใบหอก แกมขอบขนาน หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม ขอบเรียบ หรือจักเป็นซี่ฟันห่างๆ มีเส้นใบ 7-10 คู่ ค่อนข้างกางออก หรือไม่แผ่ออกและโค้งเป็นคันศร จรดกันเป็นวงที่ขอบ ก้านใบย่อยยาว 3-7 มม.
ดอก หอม สีขาว ถึงสีม่วงแดง หรือสีน้ำเงินอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ตามง่ามใบของกิ่งสั้นๆ และตามง่ามใบที่ไม่เจริญ ยาว 10-22 ซม. กิ่งแรกยาว 5-7.5 ซม. กิ่งที่สองยาวถึง 2 ซม. มีดอกเป็นกระจุก แกนกลางมีขนสั้นๆ เป็นแห่งๆ ใบประดับเป็นเส้นด้าย ยาว 3-10 มม. มีขนนุ่มหลุดร่วงง่าย ใบประดับย่อยคล้ายใบประดับแต่เล็กกว่า ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยงมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2 มม. จักเป็นพูยาวประมาณ 2 มม. พูรูปไข่ ด้านนอกมีขนรูปดาวและ ขนธรรมดา ขอบมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบ กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 6-10 มม. ด้านนอกมีขนรูปดาวและขนธรรมดา บางทีด้านในมีขนธรรมดา มีเส้นกลางกลีบขัด เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกเกือบเกลี้ยง ด้านในมีขนธรรมดา มีเส้นกลางกลีบขัด เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกเกือบเกลี้ยง ด้านในมีขนธรรมดา มีเส้นกลางกลีบชัด เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกเกือบเกลี้ยง ด้านในมีขนหนาแน่น ปลายจักเป็น 2 แฉก หรือ 4 แฉกบางครั้งจักไม่เป็นระเบียน อับเรณูยาวประมาณ 1.5 มม. ปลายเป็นติ่งแหลมอ่อน ค่อนข้างมีขน ติดตรงข้ามกับพูของท่อเกสรเพศผู้ จานฐานดอกไม่ชัดและล้อมรอบรังไข่ รังไข่มี 4-8 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย เกสรเพศเมียเกลี้ยง ปลายก้านเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.7 มม.
ผล สด รูปกลมแกมขอบขนาน เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1-2 ซม. ขนเกลี้ยง เมื่อแก่สีน้ำตาลออกเหลือง ผนังผลชั้นในแข็ง เมล็ด รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.6 มม. ยาวประมาณ 3.5 มม. เรียบ สีน้ำตาล [8]
 
  ใบ ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ 2-3 ชั้น เรียงสลับยาว 15-80 ซม. แตกแกนกลางไปทางด้านข้างอีก 3-7 คู่ แต่ละแกนมีใบย่อย 3-7 คู่ ตรงเกือบโคนของแต่ละแกนบางครั้งแตกแกนกลางย่อยสั้นๆ มีใบย่อย 2-3 คู่ มีขนนุ่มสั้นประปราย แต่ส่วนมากจะค่อนข้างเกลี้ยง ก้าบใบยาว 8-30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 6 มม. ก้านเป็นรูปทรงกระบอก มีช่องอากาศ โคนบวม แกนกลางที่แตกออกด้านข้างยาวถึง 25 ซม. เป็นข้อต่อกับแกนกลางใหญ่และไม่บวมพองมาก ใบย่อยรูปไข่ รูปใบหอก แกมขอบขนาน หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม ขอบเรียบ หรือจักเป็นซี่ฟันห่างๆ มีเส้นใบ 7-10 คู่ ค่อนข้างกางออก หรือไม่แผ่ออกและโค้งเป็นคันศร จรดกันเป็นวงที่ขอบ ก้านใบย่อยยาว 3-7 มม.
 
  ดอก ดอก หอม สีขาว ถึงสีม่วงแดง หรือสีน้ำเงินอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ตามง่ามใบของกิ่งสั้นๆ และตามง่ามใบที่ไม่เจริญ ยาว 10-22 ซม. กิ่งแรกยาว 5-7.5 ซม. กิ่งที่สองยาวถึง 2 ซม. มีดอกเป็นกระจุก แกนกลางมีขนสั้นๆ เป็นแห่งๆ ใบประดับเป็นเส้นด้าย ยาว 3-10 มม. มีขนนุ่มหลุดร่วงง่าย ใบประดับย่อยคล้ายใบประดับแต่เล็กกว่า ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยงมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2 มม. จักเป็นพูยาวประมาณ 2 มม. พูรูปไข่ ด้านนอกมีขนรูปดาวและ ขนธรรมดา ขอบมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบ กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 6-10 มม. ด้านนอกมีขนรูปดาวและขนธรรมดา บางทีด้านในมีขนธรรมดา มีเส้นกลางกลีบขัด เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกเกือบเกลี้ยง ด้านในมีขนธรรมดา มีเส้นกลางกลีบขัด เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกเกือบเกลี้ยง ด้านในมีขนธรรมดา มีเส้นกลางกลีบชัด เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกเกือบเกลี้ยง ด้านในมีขนหนาแน่น ปลายจักเป็น 2 แฉก หรือ 4 แฉกบางครั้งจักไม่เป็นระเบียน อับเรณูยาวประมาณ 1.5 มม. ปลายเป็นติ่งแหลมอ่อน ค่อนข้างมีขน ติดตรงข้ามกับพูของท่อเกสรเพศผู้ จานฐานดอกไม่ชัดและล้อมรอบรังไข่ รังไข่มี 4-8 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย เกสรเพศเมียเกลี้ยง ปลายก้านเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.7 มม.
 
  ผล ผล สด รูปกลมแกมขอบขนาน เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1-2 ซม. ขนเกลี้ยง เมื่อแก่สีน้ำตาลออกเหลือง ผนังผลชั้นในแข็ง เมล็ด รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.6 มม. ยาวประมาณ 3.5 มม. เรียบ สีน้ำตาล [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ไม้กระดานทำ ฝาบ้าน(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(คนเมือง,ลั้วะ)
- ใบ ขับพยาธิตัวกลม ขับระดู ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ฝาดสมานและไล่แมลง
ดอก ฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง
ผล แก้โรคผิวหนัง แผลพุพองที่หัว ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เป็นยาฆ่าเหาหรือฆ่าแมลง
เปลือกต้น หรือเปลือกราก เราจะนำมาปรุงเป็นยาได้คือต้องเก็บในหน้าหนาว และเอาเฉพาะเปลือกชั้นในสีเทาเท่านั้น โดยขูดเอาผิวชั้นนอกออกทิ้งก่อน จะเป็นยาทำให้เอาอาเจียน ขับพยาธิตัวกลม ไล่แมลง
ข้อห้ามใช้ คนที่มีอาการดังกล่าวนี้ห้ามใช้เป็นอันขาด มีอาการแขนขาเย็น ไม่กระหายน้ำ อาการกลัวหนาว ชอบดื่มของร้อน เป็นชั้นฝ้าบนลิ้นขาว(อาการพร่อง) ท้องร่วง ปัสสาวะมากและใส ปวดท้อง [1]
- ตำหรับยา
1. ผื่นคัน ปวดฟัน ใช้เปลือกของต้น ต้มกับน้ำแล้วบ้วนปากหรือชะล้าง
2. แก้หิด ใช้กิ่งหรือเปลือกต้น นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วไปคุกผสมกับน้ำมันหมูใช้ทาตรงบริเวณที่เป็น
3. พยาธิปากขอ ใช้เปลือกต้น 600 กรัมกับน้ำ 3,000 มล. ต้มให้เหลือเพียง 600 มล. และนำเอาทับทิม 25 กรัมกับน้ำ 300 มล. ต้มให้เหลือเพียง 120 มล. แล้วเอาส่วนที่เหลือทั้งสองชนิดนี้มาผสมกันทาน ผู้ใหญ่ให้ทานครั้งละ 30 มล.
4. พยาธิตัวกลมในเด็กเล็ก ใช้เปลือกของรากหรือ เปลือกต้น 3 กรัมต้มกับน้ำทาน
ข้อมูลทางคลินิก ผลในการขับพยาธิตัวกลม ด้วยการใช้เปลือกต้นแห้ง 5-10 กรัม/ผู้ใหญ่ และขนาด 3-6 กรัม/เด็ก ผู้ใหญ่กินครั้งละ 6-8 เม็ด เด็กอายุ 1 ขวบกินครั้งละ 2 เม็ด, 2-4 ขวบกิน 2-3 เม็ด, 4-6 ขวบกิน 3-4 เม็ด, 6-8 ขวบกิน 4 เม็ด, 9-12 ขวบกิน 5 เม็ด โดยการกินวันละ 2 ครั้งพบว่าได้ผลอยู่ 20.2-100% ส่วนใหญ่จะขับพยาธิออกมาภายใน 24-48 ชั่วโมง [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง